Powered By Blogger

วันอังคารที่ 6 กันยายน พ.ศ. 2554

การระเบิดปริศนาที่ไซบีเรีย



หายนะของโลกในยุด 2012 จะเป็นจริงหรือไม่ก็ไม่สำคัญสำหรับตอนนี้ เอาเป็นว่าเราจะมาดูอดีตที่เคยเกิดขึ้นกันดีกว่า

นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าเคยถูกดาวหางพุ่งชน ล่าสุดก็คือ การเกิดระเบิดครั้งใหญ่ที่แถบบริเวณแม่น้ำทังกัสกาในไซบีเรีย สหภาพโซเวียต เมื่อวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2451 ที่เรียกกันว่า การระเบิดไซบีเรียหรือการระเบิดทังกัสกา นั่นแหละครับ
การระเบิดทังกัสกาเป็นการระเบิดที่ยิ่งใหญ่และน่ากลัวอย่างยิ่ง เกิดขึ้นตอนเช้าของวันนั้น เป็นลูกไฟสว่างจ้าระเบิดขึ้นเหนือพื้นดิน เห็นได้ไกลถึง 800 กิโลเมตร เสียงระเบิดได้ยินไปไกลถึง 800 กิโลเมตร แรงระเบิดรู้สึกไปได้ไกล 80 กิโลเมตร ทำให้เกิดคลื่นแผ่นดินไหว วัดได้ทั่วโลก หมู่บ้านสองหมู่บ้านถูกพังราบ ป่าไม้ทั้งป่าถูกพังราบเป็นหน้ากลองกินอาณาบริเวณกว้างถึง 2,000 ตารางกิโลเมตร ต้นไม้ถูกแรงระเบิดพังราบเป็นแถบ ๆ เกิดไฟไหม้ป่าอย่างรุนแรง ท้องฟ้าแถบกลางคืนทั่วโลกสว่างอยู่หลายคืน แต่ท้องฟ้าเหนือกรุงลอนดอนก็สว่างขื้นมาดังกลางวันจนกระทั่งคนในลอนดอนสามารถอ่านหนังสือพิมพ์กลางถนนได้
 

แต่เดิมมา ก็มีหลายทฤษฎีที่นักวิทยาศาสตร์เสนอกันขึ้นมาเพื่ออธิบายสาเหตุการระเบิดที่ทังกัสกา ทว่าหลักฐานข้อมูลล่าสุดทำให้นักวิทยาศาสตร์เป็นจำนวนมากเชื่อกันว่า สาเหตุของการระเบิดที่ทังกัสกา มีเค้าว่าจะเป็นดาวหางมากที่สุด และก้าวไปไกลถึงขั้นระบุว่าดาวหางต้นเหตุของการระเบิดที่ทังกัสกา คือ ดาวหางชื่อ เองเก (Encke) มีวงโคจรระเบิดรอบดวงอาทิตย์ทุก ๆ 3.3 ปี การระเบิดนั้น ก็เป็นการระเบิดของชิ้นส่วนดาวหางเองเกที่ระเบิดเหนือทังกัสกานั่นเอง

โชคดีที่การระเบิดทังกัสกาเกิดขึ้นในแถบที่ไม่มีผู้คนอาศัยอยู่หนาแน่น จึงไม่มีผู้ใดได้รับอันตรายถึงชีวิต

ปี ค.ศ. 1490 นักวิทยาศาสตร์รัสเซียผู้หนึ่ง นาม E.L. Krinov ได้ตามรอยนักวิทยาศาสตร์รุ่นพี่อย่างคูลิค เข้าไปสำรวจบริเวณทุ่งทังกัสก้า เขาได้ให้ข้อสังเกตไว้ว่า ที่ไม่มีหลุมขนาดใหญ่บนพื้นดินอย่างที่คาดกันไว้ น่าจะเป็นเพราะว่า วัตถุดังกล่าว เกิดการระเบิดขึ้นกลางอากาศ ก่อนที่มันจะตกลงถึงพื้นดิน โชคร้ายที่สงครามโลกครั้งที่สองมาขัดขวางการวิจัยของครินอฟเสียก่อน บรรดานักวิทยาศาสตร์ถูกดึงตัวไปช่วยงานด้านอื่นหมด ทุ่งทังกัสก้าก็เลยถูกทิ้งไปไม่มีใครแยแอีกหลายปี .

ทุกครั้งที่เอ่ยถึงสงครามโลกครั้งที่สอง ใครๆต่างก็หวนนึกไปถึงเจ้าอาวุธมหาประลัย ที่มนุษยชาติคิดค้นขึ้นมาทำลายล้างกัน มันก่อให้เกิดโศกนาฏกรรมและความสยองขวัญจนยากจะลืมมาถึงทุกวันนี้ เจ้าระเบิดมหากาฬที่คร่าชีวิตผู้คนเรือนแสนที่ฮิโรชิม่าและนางาซากิ "อะตอมมิค บอมบ์" หรือระเบิดปรมาณูนั่นเองครับ


Aleksander Kazansev เป็นนักวิทยาศาสตร์รัสเซียคนแรก ที่ทำให้วงการวิทยาศาสตร์มองเห็นความเกี่ยวพัน ระหว่างระเบิดปรมาณูที่ฮิโรชิม่า และภัยพิบัติปริศนาที่ทังกัสก้า โดยเฉพาะสภาพของต้นไม้ในบริเวณทั้งสอง สภาพที่ต้นไม้โดนความร้อนจนไหม้เกรียม แต่ยังยืนต้นอยู่ได้ในบริเวณศูนย์กลางการระเบิด ในขณะรอบบริเวณออกไป ทุกสิ่งทุกอย่างเอนระเนระนาดเพราะแรงระเบิด คลื่นความร้อน และพิษสงของกัมมัตภาพรังสี เพลิงและควันรูปดอกเห็ดที่เกิดจากการระเบิด ฝนสีดำที่ตกลงมาหลังการระเบิด สิ่งที่เกิดขึ้นในฮิโรชิม่าเหมือนกันไม่ผิดเพี้ยนกับที่ทังกัสก้า Kazantsev ระบุว่า ระเบิดที่เกิดขึ้นที่ทังกัสก้า เป็นระเบิดปรมาณูอย่างไม่ต้องสงสัย และก็เป็นไปได้ที่ว่า ระเบิดปรมาณูที่เกิดนั้น อาจมาจากเตาปฏิกรณ์ปรมาณูของยานอวกาศจากนอกโลกสักบำหนึ่ง เพราะช่วงที่เกิดการระเบิดนั้น มันก่อนหน้าที่ชาติใดๆจะคิดค้นระเบิดปรมาณูได้นับเป็นสิบๆปี แถมแรงระเบิดนั้น นับว่ามากกว่าที่ฮิโรชิมานับร้อยนับพันเท่าเลยทีเดียวล่ะครับ

ทฤษฎีของ Kazansev สร้างความครื้นเครงกับวงการเป็นอย่างมาก เพราะได้เรียกเสียงหัวเราะ คำเสียดสี จากนักวิทยาศาสตร์ร่วมวงการอย่างมากมาย แต่ไม่ทุกคนครับ มีหลายท่านที่ตั้งสติได้ และคิดตามคำพูดของ Kazansev อย่างระมัดระวัง ช่ายครับ.. มีความเป็นไปได้สูงทีเดียว การระเบิดที่เกิดขึ้นเป็นระเบิดนิวเคลียร์ไม่ผิดหรอก แต่ที่บอกว่าเกิดจากการระเบิดของเครื่องยนต์จากยานของเอเลี่ยนนี่สิ... จากการสำรวจด้วยความร่วมมือจากหลายๆชาติอย่างจริงจัง ในที่สุดก็มีการยอมรับเรื่องการระเบิดที่ทังกัสก้าว่า เป็นการระเบิดจากปฏิกิริยานิวเคลียร์อย่างไม่ต้องสงสัย และได้มีการตีพิมพ์เอกสารทางวิชาการออกมา สรุปใจความได้ว่า
                                                            
1. การระเบิดที่ทังกัสก้าเกิดจากวัตถุจากอวกาศ


2. การระเบิดเกิดขึ้นเหนือพื้นดินประมาณ 10 กิโลเมตร


3. วัตถุดังกล่าวเป็นระเบิดนิวเคลียร์มีพลังงานราวๆ 10 เมกกะตัน (เหนือกว่าที่ฮิโรชิม่ามากมาย และก่อนที่ชาติใดจะคิดระเบิดชนิดนี้ได้นับสิบๆปี)


4. ขณะที่วัตถุดังกล่าวอยู่ในชั้นบรรยากาศโลก มีการเปลี่ยนทิศทางอย่างรวดเร็ว หลายต่อหลายครั้ง (ซึ่งไม่น่าจะเป็นอุกกาบาตหรือดาวหาง)


หลักฐานที่ยืนยันว่า การระเบิดที่ทังกัสก้า เป็นผลจากระเบิดปรมาณูนั้น เนื่องจากได้มีการสำรวจในบริเวณศูนย์กลางการระเบิด พบว่าต้นไม้สดๆได้ถูกเผาไหม้จนเป็นเถ้าถ่าน ซึ่งคาดว่าน่าจะมีความร้อนราว 5000 องศาเซลเซียสหรือมากกว่านั้น ไม่เช่นนั้นต้นไม้ที่อยู่ไกลออกไปอีก 15-18 กิโลเมตร จะไม่สามารถลุกเป็นไฟได้อย่างเด็ดขาด ลูกอุกกาบาตที่ไหนกันครับ จะมีความร้อนได้ขนาดนั้น

นอกจากนี้ นักออกแบบเครื่องบินชาวรัสเซีย ชื่อ แอล.ยู. โมนอตสคอฟ ได้เสนอความคิดเห็นว่า แรงระเบิดดังกล่าวเป็นยานอวกาศที่ขับเคลื่อนโดยพลังงานปรมาณู ซึ่งมาตกลงที่ป่าทังกัสก้า เนื่องจากมีผู้พบเห็นยานดังกล่าวชะลอความเร็วเป็น 0.7-1 กิโลเมตรต่อวินาที ซึ่งนับว่าเป็นความเร็วปกติของเครื่องบินเจ็ต เพราะถ้าหากเป็นดาวกตกแล้ว ความเร็วปกติของมันก็น่าจะอยู่ที่ 20-60 กิโลเมตรต่อวินาที

ภาพถ่ายจากการสำรวจเมื่อ พ.ศ. 2470 หลังเหตุการณ์ 19 ปี
แสดงต้นไม้ล้มออกจากศูนย์กลางการระเบิด




 
จุดเกิดเหตุของการระเบิดที่ทุงกุสกาในไซบีเรีย





การระเบิดที่ทุงกุสกา หรือ เหตุการณ์ทุงกุสกา (Tunguska explosion, Tunguska event) เป็นการระเบิดอย่างรุนแรง ที่เกิดขึ้นบริเวณที่ราบลุ่มแม่น้ำพอดกาเมนนายาทุงกุสกา (Podkamennaya Tunguska Riverไซบีเรีย จักรวรรดิรัสเซีย (ปัจจุบันคือ กราสโนยาร์คไคร ตอนกลางของรัสเซีย)

เมื่อเวลาประมาณ 7.12 น. วันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2451 ตามเวลาท้องถิ่น (GMT+7 ตามเวลาในประเทศไทย)

แม้ว่าสาเหตุยังคงเป็นประเด็นถกเถียง แต่การระเบิดคล้ายมากกับการระเบิดคลื่นอัดอากาศ จากการแตกตัวของอุกกาบาตหรือดาวหางขนาดใหญ่ ที่ความสูงเหนือพื้นผิวโลก 5-10 กิโลเมตร (3-6 ไมล์)

แม้ว่าการระเบิดของอุกกาบาตกลางอากาศ ก่อนถึงพื้นผิวเกิดขึ้นน้อยกว่าการชนพื้นผิว แต่ก็ยังจัดเป็นการปะทะของอุกกาบาตอีกลักษณะหนึ่ง การศึกษาต่างวาระแสดงหลักฐานตรงกันว่ามีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางอย่างน้อย 10-30 เมตร แต่ขนาดที่แน่นอนอ้างไม่ตรงกัน

ประมาณการว่า การระเบิดนี้มีความรุนแรงเทียบเท่ากับระเบิดทีเอ็นที ระหว่าง 5 เมกะตัน ถึง 30 เมกะตัน หรือประมาณ 1,000 เท่า ของระเบิดปรมาณูที่เมืองฮิโรชิม่า ประเทศญี่ปุ่น

การระเบิดเกิดขึ้นกลางอากาศที่ความสูงประมาณ 5-10 กิโลเมตรเหนือพื้นดิน

การระเบิดทำให้เกิดแรงสั่นสะเทือนแผ่ออกเป็นวงกว้าง เทียบเท่ากับแผ่นดินไหวที่ 5 ริกเตอร์ ทำลายพื้นที่ป่าประมาณ 80 ล้านต้น กินอาณาบริเวณประมาณ 2,150 ตารางกิโลเมตร

แม้เชื่อกันว่าเหตุการณ์ทุงกุสกาเป็นการปะทะของอุกกาบาตขนาดใหญ่ ที่สุดที่มนุษย์สังเกตพบในช่วงประวัติศาสตร์มนุษย์ แต่การปะทะขนาดคล้ายกันนี้ พบได้ในพื้นที่มหาสมุทรที่ห่างไกล

ซึ่งพลาดการสังเกตพบในช่วงคริสตทศวรรษ 1960 และคริสตทศวรรษ 1970 เพราะยังไม่มีการคิดค้นระบบตรวจการณ์ทางดาวเทียม


การตรวจวิเคราะห์

สมมติฐานเกี่ยวกับวัตถุที่ตกปะทะ

การระเบิดที่ ทังกุสก้า นักวิทยาศาสตร์อีกกลุ่มหนึ่งเชื่อว่ามันเกิด จากการระเบิดของยานอวกาศมนุษย์ต่างดาว แต่ทั้ง 2 ทฤษฎีจะฟังดูอ่อนไป เนื่องจากไม่มีการค้นพบเศษชิ้นส่วนโลหะ หรือแร่ธาตุที่แปลกปลอมทั่วบริเวณการระเบิด

แม้ว่าจะมีการพยายามค้นหาจนถึงปัจจุบันก็ตาม คนเดียวที่สามารถให้คำตอบการระเบิดครั้งยิ่งใหญ่ที่เป็นปริศนาครั้งนั้นได้ ก็คือ นิโคลา เทสลา เห็นได้ชัดว่านิโคลาเล็งเป้าผิดไปนิดนึง

เป็นเรื่องที่น่ามหัศจรรย์เป็นอย่างมาก ที่ไม่มีใครเสียชีวิตจากการระเบิด ครั้งนั้น เมื่อนิโคลาเห็นอานุภาพที่แท้จริงของสิ่งที่เขาสร้างขึ้นมา โดยที่เขาไม่คาดคิดมาก่อนว่า มันมีอำนาจทำลายล้างมากขนาดนั้น

นิโคลาตัดสินใจรื้อเจ้าอาวุธมหาประลัยนั้นออกเป็นชิ้น ๆ ทันที เขากล่าวว่ามันอันตรายมากเกินกว่าที่จะยอมให้มีมันอยู่บนโลก



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น