Powered By Blogger

วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เหยียบดวงจันทร์ครั้งแรกของโลก จริงหรือลวงโลก!!!

ประวัติศาสตร์อันยาวนานของมนุษย์ชาติได้อยู่เหนือทุกสิ่งทุกอย่าง แม้แต่บินได้ รวมถึงการไปถึงนอกอวกาศ

เมื่อ30ว่าปีที่แล้ว การลงจอดบนดวงจันทร์ของ อพอลโล 11 ในวันที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2512 (ค.ศ. 1969) มีการกล่าวอ้างว่าการถ่ายภาพ ไม่ได้กระทำบนดวงจันทร์ แต่ได้ถ่ายทำขึ้นในสตูดิโอภาพยนตร์บนโลก โดยความคิดนี้ได้เริ่มเป็นที่พูดคุย หลังจากภาพยนตร์เรื่อง แคปริคอร์นวัน (Capricorn One) ได้ออกฉาย ซึ่งในภาพยนตร์แสดงถึงองค์การนาซาได้หลอกชาวโลก โดยการสร้างภาพการลงจอดยานที่ดาวอังคาร

อย่างไรก็ตามมีข้อพิสูจน์หลายอย่างว่า ถึงแม้ว่าการสำรวจอวกาศของอพอลโล 11 จะเป็นเรื่องจริง แต่ภาพถ่ายของ นีล อาร์มสตรอง ถูกถ่ายทำขึ้นบนโลก โดยตามความคิดของรัฐบาลสหรัฐอเมริกา ถึงแม้ว่า นีล อาร์มสตรองจะประสบความสำเร็จหรือไม่ก็ตาม ภาพถ่ายนี่จะออกมาต่อสื่อมวลชนเพื่อสร้างข่าวลือของความสำเร็จของสหรัฐอเมริกา






อพอลโล่ 11


ทำไมถึงเชื่อว่ามีการสร้างภาพ อเมริกาจะได้อะไรบ้าง ?




1. เป็นจุดสนใจทั่วโลกส่งผลให้ สหรัฐอเมริกาเป็นผู้นำของโลกในทางด้านเทคโนโลยีรวมทั้งอาวุธต่าง ๆ ซึ่งยังไม่ได้นำออกมาแก่สื่อมวลชน และได้รับชัยชนะเหนือ สหภาพโซเวียต





2. เบี่ยงเบนความสนใจ ของเรื่องสงครามเวียดนาม โดย เบี่ยงเบนความสนใจของชาวโลก เรื่องของการโจมตีประเทศเวียดนาม เพื่อหยุดยั้งการขยายตัวของคอมมิวนิสต์




3. การสำรวจอวกาศเหมือนที่โซเวียตได้ทำก่อนหน้านี้ ทางสหรัฐสามารถทำได้เช่นกัน แต่การถ่ายทำในสตูดิโอและสร้างข่าวลือ สามารถส่งผลที่ให้เกิดชัยชนะได้แน่นอนและลดค่าใช้จ่ายและความเสี่ยง ส่งผลให้สหภาพโซเวียตล่มสลายในช่วงเวลาต่อมา





4. รวบรวมเงิน ซึ่งนาซาได้รวบรวมเงินประมาณ 60,000 ล้านบาทในขณะนั้น (30 billion dollars) สำหรับโครงการสำรวจดวงจันทร์ โดยการสร้างแรงจูงใจให้ชาวสหรัฐอเมริกาและองค์กรต่าง ๆ บริจาคเงินจำนวนมหาศาลได้ โดยเงินสามารถนำมาใช้สำหรับสงครามเวียดนามได้โดยไม่มีข้อสงสัย








เรามาฟังคำอธิบายที่คัดค้านบ้างว่าทำไมถึงเป็นเรื่องลวงโลก








1. ดวงจันทร์ไม่มีชั้นบรรยากาศครอบคลุม ไม่เหมือนกับโลก ปกติต้องเห็นดวงดาวชัดเจน แต่กลับมืดไปหมดไม่เห็นอะไรเลย (ถูกคัดค้านว่าถ่ายตอนกลางวัน มีแสงอาทิคย์ส่อง ถ้าถ่ายตอนกลางคืนจะไม่ได้ภาพที่ดีแบบนี้ ต้องใช้รูแสงเล็กและชัดเตอร์ความเร็วสูงมาก)










2. แล้วทำไมเงาถึงทอดยาวหลายครั้งที่ไม่ได้อยู่ที่เดิม มันมาจากแสงสปอตไลท์หรือเปล่า สีและแสงเงาภายในภาพผิดเพี้ยน เงาจากดวงจันทร์ ไม่ควรจะมีมุมเดียวกับเงาของวัตถุบนพื้นโลก (ถูกคัดค้านว่าอยู่ในหลุมเนินเขาบ้าง ภูมิประเทศแตกต่างกัน ปม้จะแตกต่างเพียงเล็กน้อย (ถ้างั้นเงาก็ต้องแฉกออกสองทางถ้าแสงมาจากหลายมุมจริงวัตถุใกล้กันต้องให้มากกว่าหนึ่งเงา แต่นี่มันเงาเดียวเลย))









3. รายละเอียดชัดเจนมาก ทั้งที่มันมีมุมอับแสงหรือมัวในความมืด ลืมไปแล้วหรือครับ บรรยากาศน่ะมันไม่มีอากาศ ไม่มีแม้กระทั้งที่จะให้เสียงเดินทางผ่านได้ ใครดูหนังพวกสตาร์วอยิงกันระเบิดเสียงดัง นั่นไม่เป็นความจริงครับ (ถูกคัดค้านว่า ดวงจันทร์มีแต่ฝุ่นละอองที่สะท้อนแสงไปทุกแห่ง แสงสว่างจะส่องสว่างมากกว่าปกติเมื่อไม่มีชั้นบรรยากาศปกคลุม)








4. อพอลโล่ 11 เป็นยานที่ลงจอดได้แนบสนิทที่สุดในโลก ไร้ฝุ่นติดยาน ไร้สารตกค้าง น้ำหนักยานมากกว่า 10 ตัน อยู่บนพื้นเฉยๆ ไม่มีรอยไอพ่นเป่าหรือพื้นยุบตัวบ้างเลย (ถูกคัดค้านว่าจรดมีแรงขับเคลื่อนที่มากถึง 10,500 ปอนด์ และการหาพื่นที่เหมาะสมในการลงจอดนั้นไม่ง่ายเลย ต้องใช้ความเร็วต่ำจนไถลไปในแนวร่อน ที่ยานไม่มีฝุ่นเพราะถูกความเร็วเป่าออกจนหมด)










5.  จำนวนภาพถ่ายที่มากจนเกินไป โดยเมื่อนำจำนวนเวลาที่ลงจอดบนดวงจันทร์ เปรียบเทียบกับจำนวนภาพถ่ายทั้งหมด จะได้ว่า ภาพถ่ายถูกถ่ายขึ้นทุก 15 วินาที โดยเมื่อเปรียบเทียบกับคุณภาพกล้องในสมัย ปี พ.ศ. 2512 การถ่ายภาพและการเลื่อนฟิล์มทั้งหมด ใช้เวลาประมาณ 30 วินาทีต่อ 1 ภาพ (ถูกคัดค้านว่า นักบินอวกาศได้รับการฝึกฝนให้ใช้เครื่องมือการถ่ายภาพเป็นอย่างดี นอกจากนี้อุปกรณ์การถ่ายภาพยังทำให้สามารถถ่ายภาพได้สะดวก ถึงขนาดที่ถ่ายได้สองภาพต่อหนึ่งวินาที ถ้าดูภาพที่ถ่ายมาจะพบว่าภาพจำนวนมากถูกถ่ายต่อเนื่องกัน)








6. รอยเท้าของมนุษย์อวกาศประทับได้อย่างชัดเจน แม้ดวงจันทร์จะประกอบไปด้วยหิน ดูยังไงก็ไม่ใช่ฝุ่นทราย แต่ทิ้งรอยเท้าหนักถึงประมาณ 82 กก. บนแรงโน้มถ่วงที่ต่ำแค่ 1ใน6ของโลก (ถูกคัดค้านว่า ฝุ่นบนดวงจันทร์ไม่เหมือนบนโลก มันเป็นการอัดแน่นจนเหมือนปูนแห้งๆ เพราะไม่มีกระบวนการกัดกร่อนด้วย อากาศและน้ำเหมือนบนโลก ที่จะขัดเกลาลบเหลี่ยมของเม็ดทราย สสารของผิวหน้าของมันถึงสามารถคงรูปได้)




อ้างอิง จาก http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%81%E0%B8%A5%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B9%81%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%A2%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%9A%E0%B8%94%E0%B8%A7%E0%B8%87%E0%B8%88%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%A5%E0%B8%A7%E0%B8%87
http://www.google.co.th/imgres?imgurl=http://www.world.tht.in/images/Apollo11.jpg&imgrefurl=http://www.world.tht.in/modules.php%3Fname%3DWeb_Board%26file%3Dview%26No%3D230&usg=__UncJE3wsdd9yj0lhWOBUVN-F2nQ=&h=371&w=400&sz=40&hl=th&start=0&sig2=Kkwz28VbbbH_9nvfXskjpA&zoom=1&tbnid=EbA3xnjUVmgJyM:&tbnh=136&tbnw=147&ei=fjYDTrWUOM_PrQfaksiBDg&prev=/search%3Fq%3D%25E0%25B8%25A0%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%259E%25E0%25B8%2596%25E0%25B9%2588%25E0%25B8%25B2%25E0%25B8%25A2%25E0%25B9%2580%25E0%25B8%25AB%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%25B5%25E0%25B8%25A2%25E0%25B8%259A%25E0%25B8%2594%25E0%25B8%25A7%25E0%25B8%2587%25E0%25B8%2588%25E0%25B8%25B1%25E0%25B8%2599%25E0%25B8%2597%25E0%25B8%25A3%25E0%25B9%258C%26um%3D1%26hl%3Dth%26biw%3D1280%26bih%3D737%26tbm%3Disch&um=1&itbs=1&iact=hc&vpx=856&vpy=64&dur=1350&hovh=216&hovw=233&tx=147&ty=119&page=1&ndsp=24&ved=1t:429,r:4,s:0&biw=1280&bih=737
http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9520000081893

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น